วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

แหลมงอบสถานที่สำคัญ


แหลมงอบ เป็นอำเภอเลียบชายหาดอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 สายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 17 กิโลเมตร ที่อำเภอแหลมงอบมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่า ท่าเรือแหลมงอบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแหลมงอบประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือโดยสารประจำทาง หรือเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ ได้ เช่น เกาะช้าง เกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ

นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่างๆ ด้วย

ประภาคารแหลมงอบ โดดเด่นตั้งตระหง่านที่สุดแผ่นดินแหลมงอบ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเวลามาเที่ยวแหลมงอบ ด้านหลังเป็นสะพานท่าเรือทอดยาวเข้าไปในทะเล ถึงเรือเฟอรี่จะย้ายไปท่าอื่นกันหมด แต่ที่นี่ก็มีบริการเรือและแพคเกจนำเที่ยวต่างๆ อยู่นะ มาที่นี่ก็ยังหาซื้อแพคเกจและเรือนำเที่ยวได้เหมือนเดิม
อีกหนึ่งจุดที่ต้องมาถ่ายรูปกัน ป้ายสุดแผ่นดินตะวันออกของแหลมงอบอยู่ใกล้ๆ กับประภาคาร
สะพานท่าเทียบเรือของแหลมงอบ แต่เดิมเป็นสะพานเทียบเรือหลักสำหรับคนที่จะไปเที่ยวเกาะช้าง เกาะหมาก เกาะขาม เกาะกระดาด และอีกหลายๆ เกาะของจังหวัดตราด สมัยก่อนท่าเรือนี้คึกคักไปด้วยผู้คน ต่อมาย้ายเรือเฟอรี่ข้ามฟากไปจุดอื่นสะพานที่แหลมงอบก็เลยดูหงอยๆ ไป แต่ก็ยังมีเรือบริการข้ามฟากอยู่ วิวฉากหลังคือเกาะช้างที่ใหญ่โตปกคลุมไปด้วยหมอก เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดเกาะหนึ่งของไทย

พระบรมรูป รัชกาลที่ ๕ เป็นสิ่งที่ชาวตราดจะเดินทางมาถวายความเคารพสักการะ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับจังหวัดตราด มีเรื่องราวผูกพันกันอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อตราดต้องตกอยู่ใต้ความปกครองของฝรั่งเศส พระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปและเจรจาขอเมืองตราดคืนจนสำเร็จ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวตราดรักและเคารพพระองค์มาก
แลนด์มาร์คใหม่ของแหลมงอบ
แลนด์มาร์คใหม่ของแหลมงอบ ป้าย TRAT หรือตราด ในภาษาอังกฤษสร้างขึ้นมาในช่วง สิงหาคม 2558 หลังจากสร้างเสร็จก็ทำให้เป็นจุดถ่ายรูปที่ได้รับความนิยมมากในแหลมงอบ เด็กๆ ก็เหมือนได้สนามเด็กเล่นใหม่ไปด้วย
แหลมงอบ
 ถึงแม้ว่าแหลมงอบจะไม่คึกคักเพราะเรือไปจอดที่ท่าอื่นแต่ในอีกมุมหนึ่งที่นี่ก็เป็นที่พักผ่อนของชาวแหลมงอบและนักท่องเที่ยวหลายคนที่ชอบมาชมวิว นั่งเล่นรอพระอาทิตย์ตก หลายคนก็มาออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน 
สะพานท่าเรือแหลมงอบ-เกาะช้าง
สะพานท่าเรือแหลมงอบ-เกาะช้าง 
แหลมงอบ
 คนที่ชอบถ่ายรูปก็จะมาถ่ายมุมนี้กันเยอะ กับฉากหอประภาคารช่วงเย็น 
แหลมงอบ
 
จารึกประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ ๕
จารึกประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ ๕ สิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับชาวตราด คือจารึกแผ่นนี้ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับพระบรมรูปที่แหลมงอบ ในแผ่นจารึกนั้นเขียนว่า

    "...ขอให้เชื่ออยู่ในใจเสมอไปในเบื้องหน้า ดังเช่นที่คิดเห็นในครั้งนี้ว่า เราคงจะเป็นเหมือนบิดาของเจ้าเสมอไป ย่อมยินดีด้วยในเวลามีความสุข และจะช่วยปลดเปลี้องอันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์..."

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวตราด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2450

(จากหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไกลบ้าน ตอนเสด็จประพาสยุโรปและเยี่ยมชาวเมืองตราด ก่อนเสด็จกลับคืนสู่พระนคร)

    ...เวลาค่ำนอนอยู่ที่เกาะช้างรุ่งขึ้นวันเวลานี้ข้ามไปจอดที่แหลมงอบได้ขึ้นดูที่ซึ่งปราบไว้จะทำโรงที่พักกองลาดตระเวน ได้ปลูกโรงงารขึ้นบ้างแต่ยังหาได้ทำโรงที่อยู่ไม่ ออกเรือจากแหลมงอบเวลาเกือบบ่ายโมง ๑...

    สยามินทร์

    จากรายงานการวิชัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง" จังหวัดตราด 2548

    จารึกแผ่นนี้เองที่เป็นที่มาของการขนานพระนามรัชกาลที่ ๕ ว่า เสด็จพ่อ ร.๕ และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยทรงห่วงใยชาวตราดเปรียบเสมือนพ่อห่วงใยลูกในยามที่ตราดต้องตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส
ที่ว่าการอำเภอแหลมงอบ
ที่ว่าการอำเภอแหลมงอบ สถานที่หนึ่งที่หลายๆ คนเริ่มจะลืมเลือนไปก็คือตลาดแหลมงอบที่อยู่หน้าที่ว่าการอำเภอ หลังจากที่ท่าเรือเฟอรี่ย้ายไปอยู่ที่อื่นนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้เลี้ยวเข้ามาเดินหาซื้อของฝากในตลาดแหลมงอบเหมือนเมื่อก่อน เรามีเวลามาที่นี่เลยลองเข้ามาดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านว่าเป็นยังไงกันบ้าง
ข้าวราดแกงแจ๊แจ๋ว
ข้าวราดแกงแจ๊แจ๋ว มาเดินตลาดแหลมงอบหน้าอำเภอตอนเช้าๆ ร้านข้าวราดแกงที่เป็นที่พึ่งของคนที่จะไปทำงาน ไปเรียน และรวมไปถึงคนมาเที่ยวแบบพวกเราที่ชอบหากินแบบง่ายๆ ก็ต้องมาร้านเจ๊แจ๋วนี้เลย สมัยที่เรือข้ามเกาะช้างออกจากท่าเรือแหลมงอบแจ๊แจ๋วสร้างรายได้กับร้านข้าวราดแกงได้วันละเป็นหมื่น ทุกวันนี้เลยซบเซาลงไปเยอะ แต่แกก็ยังมาขายเหมือนเดิม
แหลมงอบ
 ชุมชนชาวแหลมงอบมีทั้งคนที่นับถือพุทธ คริสต์ และอิสลาม อยู่อาศัยรวมๆ กันอย่างสันติและลงตัวมาช้านาน ย่านนี้ยังมีร้านของฝากหลายร้านสำหรับถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากเพื่อนๆ ญาติสนิทมิตรสหาย คุณภาพไม่ต่างจากศูนย์ของฝากใหญ่ๆ แถมยังจะดีกว่าซะด้วยซ้ำเพราะชาวบ้านทำเองขายเอง
เจ๊น้อย ของฝากแหลมงอบ
เจ๊น้อย ของฝากแหลมงอบ ในบรรดาร้านของฝากหลายร้านที่ตลาดแหลมงอบก็มีร้านเจ๊น้อยที่มีของให้เลือกมากมายหลายอย่างและเป็นร้านที่เราแวะเป็นประจำ ปลาอินทรีย์ของร้านนี้ อร่อยราคายุติธรรม



ชอบคุณข้อมูลจากเว็บ: http://www.touronthai.com/article/2645
แผนที่ แหลมงอบ ที่เที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น