วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

สมาชิค

                                           สมาชิคในกลุ่ม

แหลมงอบบ
  1. นาย ณัฐวุฒิ ถนอมชาติ ม.3/4 เลขที่ 10 (หัวหน้ากลุ่ม)
  2. นาย พิชิต จินตกานนท์ ม.3/4 เลขที่ 13
  3. นาย กิตติธัช มณีเพชร ม.3/4 เลขที 6                                                               
  4. นาย ลัญจ์ชนะ หอยสังข์ ม./4 เลขที่ 18
  5. ด.ช.ภัทรพงษ์ สุทธิวารี ม.3/4 เลขที่ 15
  6. นายรัชพล ส่วนบุญ ม.3/4 เลขที่ 17
  7. นาย ดำรงศักดิ์ โกสิวาล ม.3/4 เลขที่ 11 (รองหัวหน้า)

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

จักสาน บ้านเนินดินแดง

งานหัตถกรรมสวยๆ ที่เห็นอยู่นี้ ทำมาจากต้นคลุ้ม เป็นผลงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มจักสานบ้านเนินดินแดง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

 กว่าจะได้ตะกร้า หรือกระเป๋าสวยๆ ซักใบ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้อาสาพาคุณผู้ชมไปดูตั้งแต่การเลือกเก็บต้นคลุ้ม จนถึงขั้นตอนการสานกันด้วย

 เดินตามหลัง คุณแม่ทองใบเข้าป่าไปหาต้นคลุ้มกัน คุณแม่ทองใบเล่าให้ฟังว่าไปปลูกไว้ในป่าเอง เพราะต้องการจะให้มีผลผลิตเก็บได้ตลอด

 ลักษณะของต้นคลุ้มที่เราจะเลือกมาสานได้ ต้องเป็นต้นที่มีมีกิ่งแตกออกมา 3 กิ่งขึ้นไป ลำต้นสวย ไม่มีรอยแผล เลือกต้นได้แล้วก็ตัดกันเลย จากนั้นตัดแต่งกันก่อน ด้วยการขูดเยื่อหุ้มสีเขียวๆ ออกแบบนี้ จนเห็นสีน้ำตาล ก็นำมาผ่าเป็นซีกขนาดเท่าๆกัน ตัดแต่งอีกหน่อย จนมีลักษณะเป็นตอกไม้แบบนี้ ลอกตอกให้ได้เส้นบางๆ สำหรับนำมาสาน ขั้นตอนนี้ใช้ความชำนาญมากเลย เห็นคุณแม่ทองใบ ทำแล้วเหมือนจะง่าย เทียนก็อยากจะลองบ้าง แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย ลองอยู่หลายครั้งแต่ ก็ไม่สำเร็จ

 เส้นตอก 1 ซีก ลอกได้ 3 เส้น สามารถสานเป็นรูปแบบต่างๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ต้องผ่านการฝึกฝน และประสบการณ์ด้วย

 ได้ลองสานต้นคลุ้มแล้ว ยอมรับว่ายาก ต้องใจเย็นและมีความประณีตมาก เพื่อให้ได้ชิ้นงานสวยๆ

LandMark แหลมงอบ

กระโจมไฟแหลมงอบ เด่นสง่าริมทะเล

กระโจมไฟ อำเภอแหลมงอบ จังหวัตราด - สวยงามเป็นสง่ายิ่งกว่าสิ่งไหน

กระโจมไฟแหลมงอบคือ LandMark หรือสัญลักษณ์หลักของที่นี่ ที่นี่สวยงามเด่นเป็นสง่ามาก รูปนี้ถ่ายตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้ว จึงได้เห็นแสงนวลอ่อนๆ ของพระอาทิตย์ตัดกับสีของท้องฟ้าได้อย่างลงตัว บรรยากาศในรูปนี้จะสื่อถึงตัวกระโจมไฟที่ตั้งเป็นสง่าริมทะเลและเป็นทางสัญจรขับรถเล่นของคนที่นี่ด้วย อีกทั้งสถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวอำเภอแหลมงอบและอำเภอใกล้เคียงอีกด้วย

แนะนำร้านอาหารแหลมงอบ

อานารีนฮาล้าลฟู๊ด

ร้าน"อานารีน ฮาล้าลฟู๊ด" บรรยากาศสบายๆ สไตล์อานารีน อาหารถูกปากทุกเมนู เมนูหลากหลาย อาทิ กุ้งถังอานารีน ข้าวหมกประกระเบน ขนมจีนน้ำยาปู ก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด อาหารซีฟู้ด สเต็ก ไอศกรีม กาแฟเวียดนามหอมกรุ่นเข้มข้น ผัดไท หอยทอด และอื่นๆอีกมากมาย บริการห้องละหมาด 

แหลมงอบถานที่ท่องเที่ยว

อ่าวธรรมชาติ



อ่าวธรรมชาติเป็นอ่าวที่อยู่ใกล้กับ อ.แหลมงอบมากที่สุดมีน้ำใสสะอาด หาดทรายมีสีนวล บรรยากาศร่มรื่น มีร้านอาหารบริการบริเวณริมชายหาด












หาดทรายดำ

ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมงอบ ป่าชาเลนแหลมมะขาม มีลักษณะทางนิเวศวิทยาที่สมบูรณ์มาก และที่แปลกคือ มีหาดทรายเป็นสีดำทั่ว|บริเวณเป็นวง
กว้างเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ














แหลมงอบสถานที่สำคัญ


แหลมงอบ เป็นอำเภอเลียบชายหาดอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 สายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 17 กิโลเมตร ที่อำเภอแหลมงอบมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ชื่อว่า ท่าเรือแหลมงอบ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแหลมงอบประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือโดยสารประจำทาง หรือเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่าง ๆ ได้ เช่น เกาะช้าง เกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ

นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่างๆ ด้วย

ประภาคารแหลมงอบ โดดเด่นตั้งตระหง่านที่สุดแผ่นดินแหลมงอบ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเวลามาเที่ยวแหลมงอบ ด้านหลังเป็นสะพานท่าเรือทอดยาวเข้าไปในทะเล ถึงเรือเฟอรี่จะย้ายไปท่าอื่นกันหมด แต่ที่นี่ก็มีบริการเรือและแพคเกจนำเที่ยวต่างๆ อยู่นะ มาที่นี่ก็ยังหาซื้อแพคเกจและเรือนำเที่ยวได้เหมือนเดิม
อีกหนึ่งจุดที่ต้องมาถ่ายรูปกัน ป้ายสุดแผ่นดินตะวันออกของแหลมงอบอยู่ใกล้ๆ กับประภาคาร
สะพานท่าเทียบเรือของแหลมงอบ แต่เดิมเป็นสะพานเทียบเรือหลักสำหรับคนที่จะไปเที่ยวเกาะช้าง เกาะหมาก เกาะขาม เกาะกระดาด และอีกหลายๆ เกาะของจังหวัดตราด สมัยก่อนท่าเรือนี้คึกคักไปด้วยผู้คน ต่อมาย้ายเรือเฟอรี่ข้ามฟากไปจุดอื่นสะพานที่แหลมงอบก็เลยดูหงอยๆ ไป แต่ก็ยังมีเรือบริการข้ามฟากอยู่ วิวฉากหลังคือเกาะช้างที่ใหญ่โตปกคลุมไปด้วยหมอก เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดเกาะหนึ่งของไทย

พระบรมรูป รัชกาลที่ ๕ เป็นสิ่งที่ชาวตราดจะเดินทางมาถวายความเคารพสักการะ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับจังหวัดตราด มีเรื่องราวผูกพันกันอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อตราดต้องตกอยู่ใต้ความปกครองของฝรั่งเศส พระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปและเจรจาขอเมืองตราดคืนจนสำเร็จ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวตราดรักและเคารพพระองค์มาก
แลนด์มาร์คใหม่ของแหลมงอบ
แลนด์มาร์คใหม่ของแหลมงอบ ป้าย TRAT หรือตราด ในภาษาอังกฤษสร้างขึ้นมาในช่วง สิงหาคม 2558 หลังจากสร้างเสร็จก็ทำให้เป็นจุดถ่ายรูปที่ได้รับความนิยมมากในแหลมงอบ เด็กๆ ก็เหมือนได้สนามเด็กเล่นใหม่ไปด้วย
แหลมงอบ
 ถึงแม้ว่าแหลมงอบจะไม่คึกคักเพราะเรือไปจอดที่ท่าอื่นแต่ในอีกมุมหนึ่งที่นี่ก็เป็นที่พักผ่อนของชาวแหลมงอบและนักท่องเที่ยวหลายคนที่ชอบมาชมวิว นั่งเล่นรอพระอาทิตย์ตก หลายคนก็มาออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน 
สะพานท่าเรือแหลมงอบ-เกาะช้าง
สะพานท่าเรือแหลมงอบ-เกาะช้าง 
แหลมงอบ
 คนที่ชอบถ่ายรูปก็จะมาถ่ายมุมนี้กันเยอะ กับฉากหอประภาคารช่วงเย็น 
แหลมงอบ
 
จารึกประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ ๕
จารึกประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ ๕ สิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับชาวตราด คือจารึกแผ่นนี้ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับพระบรมรูปที่แหลมงอบ ในแผ่นจารึกนั้นเขียนว่า

    "...ขอให้เชื่ออยู่ในใจเสมอไปในเบื้องหน้า ดังเช่นที่คิดเห็นในครั้งนี้ว่า เราคงจะเป็นเหมือนบิดาของเจ้าเสมอไป ย่อมยินดีด้วยในเวลามีความสุข และจะช่วยปลดเปลี้องอันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์..."

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวตราด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2450

(จากหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไกลบ้าน ตอนเสด็จประพาสยุโรปและเยี่ยมชาวเมืองตราด ก่อนเสด็จกลับคืนสู่พระนคร)

    ...เวลาค่ำนอนอยู่ที่เกาะช้างรุ่งขึ้นวันเวลานี้ข้ามไปจอดที่แหลมงอบได้ขึ้นดูที่ซึ่งปราบไว้จะทำโรงที่พักกองลาดตระเวน ได้ปลูกโรงงารขึ้นบ้างแต่ยังหาได้ทำโรงที่อยู่ไม่ ออกเรือจากแหลมงอบเวลาเกือบบ่ายโมง ๑...

    สยามินทร์

    จากรายงานการวิชัยเชิงประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ตามรอยเสด็จฯ เกาะช้าง" จังหวัดตราด 2548

    จารึกแผ่นนี้เองที่เป็นที่มาของการขนานพระนามรัชกาลที่ ๕ ว่า เสด็จพ่อ ร.๕ และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยทรงห่วงใยชาวตราดเปรียบเสมือนพ่อห่วงใยลูกในยามที่ตราดต้องตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส
ที่ว่าการอำเภอแหลมงอบ
ที่ว่าการอำเภอแหลมงอบ สถานที่หนึ่งที่หลายๆ คนเริ่มจะลืมเลือนไปก็คือตลาดแหลมงอบที่อยู่หน้าที่ว่าการอำเภอ หลังจากที่ท่าเรือเฟอรี่ย้ายไปอยู่ที่อื่นนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้เลี้ยวเข้ามาเดินหาซื้อของฝากในตลาดแหลมงอบเหมือนเมื่อก่อน เรามีเวลามาที่นี่เลยลองเข้ามาดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านว่าเป็นยังไงกันบ้าง
ข้าวราดแกงแจ๊แจ๋ว
ข้าวราดแกงแจ๊แจ๋ว มาเดินตลาดแหลมงอบหน้าอำเภอตอนเช้าๆ ร้านข้าวราดแกงที่เป็นที่พึ่งของคนที่จะไปทำงาน ไปเรียน และรวมไปถึงคนมาเที่ยวแบบพวกเราที่ชอบหากินแบบง่ายๆ ก็ต้องมาร้านเจ๊แจ๋วนี้เลย สมัยที่เรือข้ามเกาะช้างออกจากท่าเรือแหลมงอบแจ๊แจ๋วสร้างรายได้กับร้านข้าวราดแกงได้วันละเป็นหมื่น ทุกวันนี้เลยซบเซาลงไปเยอะ แต่แกก็ยังมาขายเหมือนเดิม
แหลมงอบ
 ชุมชนชาวแหลมงอบมีทั้งคนที่นับถือพุทธ คริสต์ และอิสลาม อยู่อาศัยรวมๆ กันอย่างสันติและลงตัวมาช้านาน ย่านนี้ยังมีร้านของฝากหลายร้านสำหรับถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากเพื่อนๆ ญาติสนิทมิตรสหาย คุณภาพไม่ต่างจากศูนย์ของฝากใหญ่ๆ แถมยังจะดีกว่าซะด้วยซ้ำเพราะชาวบ้านทำเองขายเอง
เจ๊น้อย ของฝากแหลมงอบ
เจ๊น้อย ของฝากแหลมงอบ ในบรรดาร้านของฝากหลายร้านที่ตลาดแหลมงอบก็มีร้านเจ๊น้อยที่มีของให้เลือกมากมายหลายอย่างและเป็นร้านที่เราแวะเป็นประจำ ปลาอินทรีย์ของร้านนี้ อร่อยราคายุติธรรม



ชอบคุณข้อมูลจากเว็บ: http://www.touronthai.com/article/2645
แผนที่ แหลมงอบ ที่เที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร